หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนรู้ตามแนคิด STS

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (Science Technology and Society Apporch) การจัดการเรียนรู้เพื่อทำให้ผู้เรียนแต่ละคนได้สร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสและเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ จึงสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ซึ่งแนวทางการใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และสังคม  (NSTA,1993)  คือ แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในบริบทของประสบการณ์คน  การเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จะเน้นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจริง  แทนการเรียนการสอนที่เริ่มต้นด้วยแนวคิด  และกระบวนการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการวิเคราะห์และประยุกต์ ใช้แนวคิด  และกระบวนการในสถานการณ์จริง  ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนกับสถานการณ์จริงในท้องถิ่นของผู้เรียนได้  (Wilson  และ  Livingston,1996) โดยเน้นเหตุการณ์หรือประเด็นที่กำลังเกิดขึ้น  และพยายามให้ผู้เรียนหาคำตอบสำหรับเหตุการณ์นั้นๆ  ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และเตรียมบทบาทของพลเมืองในอนาคต  ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (scientific  and  technological  literacy)  ที่ทำให้ผู้เรียนมีทั้งความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา  และเพิ่มพูนความสามารถในการใช้ทักษะ  กระบวนการ  ผู้เรียนจะพัฒนาทั้งความคิดสร้างสรรค์  เจตคติต่อวิทยาศาสตร์  ได้ใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน  และกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง  (NSTA,1993) การสอน STS มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ 3 แบบ ได้แก่ แนวทางในเชิงประวัติศาสตร์ (Historical approach) แนวทางในเชิงปรัชญา (Philosophical approach) และแนวทางที่ใช้ประเด็นเป็นฐาน (Issues – based approach) แต่แนวทางที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย คือ Issues – based approach ซึ่งได้แก่การจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของ Yager (1993),

ไม่มีความคิดเห็น: